ทำความรู้จัก “แป้งท้าวยายม่อม”

แป้งท้าวยายม่อมคือแป้งอะไร ใช้ทำอะไรได้บ้าง

สำหรับคนที่ทำขนมจะต้องรู้จักแป้งที่ใช้ทำขนม ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ “แป้งท้าวยายม่อม” สามารถนำมาทำขนมไทยได้หลากหลายชนิด เนื่องจากมีความหนืด ใส คืนตัวช้า ขนมไทยที่ใช้แป้งท้าวยายม่อมได้เช่น ขนมเต้าส่วน ขนมชั้น เปียกปูน เป็นต้น

แป้งท้าวยายม่อมใช้ทำอะไรได้บ้าง

แป้งท้าวยายม่อม มีคุณสมบัติคือมีความเหนียวหนืด นุ่มใส คืนตัวช้า ซึ่งขนมที่นิยมใช้แป้งชนิดนี้คือ ขนมเต้าส่วน ขนมชั้น เปียกปูน ขนมบ้าบิ่น ขนมมถ้วย ช่อม่วง เป็นต้น ถ้าเป็นอาหารที่นิยมใช้แป้งท้าวคือ กระเพาะปลา ซุปไข่เห็ดหอม ออส่วนหอยนางรม เป็นต้นซึ่งตามคุณสมบัติของแป้งท้าวนั้น ก็จะมีแป้งที่มีคุณสมบัติที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งสามารถใช้แทนกันได้คือ แป้งข้าวโพด

ลักษณะของแป้งท้าวยายม่อม

แป้งท้าวยายม่อมจะมีลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ สีขาวเป็นเงาเวลาใช้ต้องบดให้ละเอียดเป็นผง เมื่อนำไปประกอบอาหารจะให้ความข้นเหนียวหนืดและใสเมื่อทำให้เย็นจะเหนียว ตัวกว่าแป้งมันสำปะหลัง นิยมนำมาใช้ร่วมกับแป้งชนิดอื่น ๆ เพื่อให้ได้อาหารที่มีความข้นเหนียว เป็นมันวาว เช่น ขนมชั้น ขนมน้ำดอกไม้ ฯลฯ     

แป้งท้าวยายม่อมหาซื้อได้ที่ไหน      

แป้งท้าวยายม่อม หาซื้อได้จากร้ายขายวัสดุอุปกรณ์เบเกอรี่ หรือ ตามซุปเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป หรือ ตลาดสดทั่วไป

ต้นเท้ายายม่อม

ที่มาของต้นเท้ายายม่อม   

แป้งท้าวยายม่อม จริงๆแล้วตามพจนานุกรม สะกดว่า “เท้ายายม่อม” แป้งนี้สกัดมาจากหัวมันท้าวยายม่อม  

ต้นเท้ายายม่อม ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tacca leontopetaloides มีชื่อเรียกตามภาคต่างๆ อาทิ พญารากเดียว ไม้เท้าฤๅษี กาสะลอง จรดพระธรณี เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กสูงประมาณ 1-2 เมตร ข้อมูลจาก หนังสือสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ บอกว่า ทั้งต้นเป็นสมุนไพรแก้ปวดเมื่อย รากเป็นยาขับเสมหะ ดับพิษไข้ แก้ร้อนใน

เท้ายายม่อมเป็นไม้ล้มลุกอายุยืน ไม่มีลำต้น เหง้าใต้ดินเป็นหัว กลมแบนหรือรีกว้าง เปลือกหัวบาง ผิวเรียบ เมื่ออ่อนสีขาว แก่แล้วเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาล เนื้อหัวสีขาว ฉ่ำน้ำเล็กน้อย ดอกสีเหลืองหรือเขียวแกมม่วงเข้ม ผลสีส้มอ่อน มีเมล็ดมาก เนื้อผลฟ่าม ๆ เมล็ดแบน คาดว่ามีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กระจายพันธุ์ตั้งแต่แอฟริกา เอเชีย ไปจนถึงโอเชียเนีย

หัวสดรับประทานไม่ได้ มีรสขม แต่สามารถสกัดแป้งมาใช้ประโยชน์ได้ แป้งที่ได้ใช้ทำขนมปัง พุดดิ้งและขนมได้หลายชนิด ในฟีจีนำแป้งที่ยังไม่ได้ตากแห้งห่อใบไม้นำไปฝังดิน ปล่อยให้เกิดการหมักก่อนรับประทาน ในซามัวใช้แป้งสดเป็นกาว ในกาบองรับประทานผล ใบรับประทานเป็นผัก ก้านใบและก้านดอกให้เส้นใยใช้ทำหมวกและอุปกรณ์ตกเบ็ด หัวและแป้งใช้รักษาโรคบิดและอาการบวม เคยเป็นอาหารหลักในฮาวาย, ตาฮีตี และฟีจี แต่ปัจจุบันถูกแทนที่ด้วยมันสำปะหลัง รสขมในหัวเกิดจากเบตาซิโตสเตอรอล อัลคาลอยด์ ซาโปนิน หัวอ่อนรสขมมากกว่าหัวแก่

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *